นิทานค่ะ

รักนี้ไม่มีลืม


รหัสวิชา ล.1008
อาจารย์ผู้สอน ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์
คำอธิบายรายวิชา
ความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาต่อการเรียนการสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน การจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผล และการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อกับสภาพของชั้นเรียนวัตถุประสงค์เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนแล้วนักศึกษาจะมีความสามารถดังต่อไปนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจ ความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมศึกษาที่มีต่อการ เรียนการสอน วิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนก ประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนตลอดจนการประเมิน
2. สามารถปฏิบัติการการจัดหา ผลิต ใช้และเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน
3. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสามารถประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้วัตถุประสงค์ของวิชาเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชานี้แล้วนักศึกษาจะมีความสามารถหรือมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้
1. เข้าใจความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
2. สามารถอธิบายความมาย คุณค่า ประเภท หลักการจัดหา การเลือก การผลิต และการใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมได้
3. สามารถอธิบายหลักจิตวิทยาการรับรู้ การเรียนรู้ และจิตวิทยาพัฒนาการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของกระบวนการสื่อความหมายและการเรียนการสอนได้
4. สามารถประยุกต์วิระบบมาใช้เพื่อให้การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5. สามราถอธิบายหลักการเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนเนื้อหาการจัดลำดับในเนื้อหาจากการศึกษาคำอธิบายรายวิชา ผู้สอนได้วิเคราะห์เนื้อหา แล้วจำแนกและเรียงลำดับให้เหมาะสมกับศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียน แบ่งเป็น 14 หน่วย ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวม 32 ชั่วโมง ซึ่งเนื้อหาแต่ละหน่วยการเรียนการสอนได้เรียงลำดับดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่2 สื่อการสอน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สื่อการสอนประเภทวัสดุ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สื่อการสอนประเภทโสตทัศนูปกรณ์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 สื่อการสอนประเภทกิจกรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การสื่อความหมาย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 จิตวิทยาการเรียนการสอน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การจัดระบบการเรีนการสอน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 นวัตกรรมทางการศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 แนวโน้มของเทคโนโลยีกรศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 การฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 การฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อกิจกรรม

สาวสวย คบ.


วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สื่อการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอน

- ความหมาย

- ประเภท

- ประโยชน์

......สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

......ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

.............สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ

........1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ

........2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ

........3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง

........4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)

.............สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์

........1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง

....... 2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตรายไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า

........3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น

........4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด

........5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง

........6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง

........7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์

........8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียงซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย

........9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิแผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น.......10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตามเราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา

.........สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ

.................Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้

..........1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ

..........2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ

..........3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ

..........4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริปเครื่องฉายสไลด์

..........5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯสื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ(Form)

................Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้

..........1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ

..........2.วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ

..........3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ

..........4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง

........สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้

........1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)

........2. วัสดุ (Software)

........3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)

....คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน

1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

....1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่างๆ

....1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง

....1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน

....1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น

....1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด

2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่

....2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

....2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น

....2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น

....2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง

....2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น

....2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง

....2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้

....2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้

....2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน

....2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา

....2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล.........

เขียนโดย เทคโนโลยีทางการศึกษา ที่ 23:06 0 ความคิดเห็น

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กำลังทำใจ


ข่าวภาคใต้

สถานการณ์ภาคใต้ ล่าสุด ภายหลังเดินทางกลับถึงกรุงเทพฯ นายกฯ ให้สัมภาษณ์อีกครั้ง ว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ยังมีปัญหาอีกเรื่องเดียว คือจำนวนบุคลากรที่ยังขาดอยู่ ทั้งตำรวจและฝ่ายปกครอง ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แก้ไขแล้ว ในส่วนความร่วมมือของประชาชน ขณะนี้ก็ดีขึ้น แต่ก็ต้องเร่งสร้างความเข้าใจระหว่างชาวไทยพุทธกับไทยมุสลิมด้านสถานการณ์ในพื้นที่ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบซุ่มโจมตีทหารชุดเฉพาะกิจที่ 32 ซึ่งตั้งฐานปฏิบัติการภายในวัดอุไรรัตนาราม ขณะลาดตระเวนตรวจพื้นที่ในอำเภอบาเจาะ จ.นราธิวาส เวลาประมาณ 05.00 น. วันพุธ เกิดปะทะกันนาน 10 นาที ก่อนที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจะล่าถอยไป ปรากฏว่าทหารเสียชีวิต 1 นาย คือ พ.จ.อ.บุญช่วย อินบุตร อายุ 32 ปี หัวหน้าชุด ถูกกระสุนอาวุธปืนสงครามเข้าที่ศีรษะและลำตัวหลายแห่ง นอกจากนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 นาย คือ จ.อ.ศุภชัย นามตาแสง อายุ 28 ปี และ จ.อ.นิติวัฒน์ ศรีจรัส อายุ 27 ปี ถูกนำส่งโรงพยาบาลบาเจาะ ก่อนถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ก่อนเกิดเหตุ พ.จ.อ.บุญช่วยได้นำกำลังพลรวม 5 นาย ออกเดินเท้าลาดตระเวนเข้าพิสูจน์ทราบความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงกันข้ามในพื้นที่ดังกล่าว โดยได้เดินลัดมาทางทุ่งนาริมถนนสายบาเจาะ-บ้านทอน เพื่อจะเข้าหลังหมู่บ้าน แต่ถูกซุ่มโจมตีเสียก่อนหลังเกิดเหตุ มีการนำศพ พ.จ.อ.บุญช่วยไปยังวัดพรหมนิวาส ถนนโคกเคียน เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส มีพิธีรดน้ำศพในบ่ายวันเดียวกัน โดย พล.ร.ต.ศักดิ์ชาย อุบลเดชประชารัตน์ รองผู้บัญชาการหน่วยนาวิกโยธิน เป็นประธานรดน้ำศพ พ.จ.อ.บุญช่วย อินบุตร สังกัดกองร้อยลาดตระเวนที่ 2 ชุดรบพิเศษ หน่วยนาวิกโยธิน โดยมี น.อ.นิเวช บุตรศรี ผู้บังคับการหน่วยนาวิกโยธินภาคใต้ ค่ายจุฬาภรณ์ ข้าราชการ เพื่อนทหาร และตำรวจในพื้นที่กว่า 300 นายเข้าร่วมงานน.อ.นิเวช บุตรศรี ผู้บังคับการหน่วยนาวิกโยธินภาคใต้ กล่าวว่า พ.จ.อ.บุญช่วยเสียชีวิตในหน้าที่ หน่วยนาวิกโยธินจะเสนอปูนบำเหน็จ 9 ขั้น เทียบยศนาวาเอก ได้รับเงินทดแทนและเงินประกันภัย 6 แสนบาท เงินเสี่ยงภัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 แสนบาทนราธิวาส ร.ต.ต.ภัสกร หมานสกุล ร้อยเวรสอบสวน สภ.อ.เมืองนราธิวาส ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ชุด ชรบ. ทำหน้าที่เฝ้าโรงเรียนบ้านไร่พญา หมู่ 7 ต.กะลุวอเหนือ อ.เมืองฯ จ.นราธิวาส ว่าเกิดระเบิดขึ้นภายในโรงเรียน เมื่อไปตรวจสอบ พบริมรั้วใกล้อาคารห้องน้ำมีหลุมระเบิดขนาดกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1 เมตร สะเก็ดระเบิดกระจายเกลื่อนในรัศมี 30 เมตรจากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุขณะที่ฝนตกหนัก ทหารและชุด ชรบ.ที่เฝ้าโรงเรียนดังกล่าวจำนวนกว่า 10 นาย ได้เข้าไปหลบฝนอยู่ในตัวอาคารเรียน ห่างจากจุดระเบิดประมาณ 40 เมตร แล้วเกิดระเบิดขึ้นดัง 1 ครั้ง เวลาประมาณ 04.00 น. แต่ไม่มีใครเข้าไปดู กระทั่งสว่างจึงไปตรวจสอบ คาดว่าเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ เพราะจุดเกิดเหตุเป็นม้านั่งที่เจ้าหน้าที่จะไปนั่งเป็นประจำที่อำเภอระแงะ จ.นราธิวาส คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้าบุกยิงพลทหารมะลุ ตันหยงอุตง อายุ 22 ปี ทหารเกณฑ์สังกัดหน่วยนาวิกโยธิน จ.พังงา เสียชีวิตในบ้านพักเลขที่ 142 หมู่ 2 ต.ตันหยงลิมอ อ.ระแงะส่วนที่อำเภอธารโต จ.ยะลา นายสุรศักดิ์ ศุภัสศร อายุ 30 ปี ออกไปกรีดยางที่บ้านศรีแป้น หมู่ 4 ต.ธารโต อ.ธารโต คนร้ายซุ่มยิงหลายนัด แต่โชคดีแค่กระสุนถาก พอดีมีชาวบ้านผ่านมา คนร้ายจึงหลบหนีไปเวลา 09.00 น. พ.ต.อ.นพดล เผือกโสมณ รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.นราธิวาส นำกำลัง 3 ฝ่าย ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง อ.รือเสาะ จำนวนกว่า 200 นาย เข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านกาโดะ หมู่ 4 ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ หลังสืบทราบว่าเป็นแหล่งกบดานของกลุ่มกองกำลังอาร์เคเค โดยกระจายกำลังออกเป็น 10 ชุด ตรวจค้นเป้าหมาย 10 จุดขณะเจ้าหน้าที่เข้าไปในหมู่บ้านดังกล่าว ได้พบกับกลุ่มชายฉกรรจ์จำนวน 4 คน สวมชุดสีดำ นุ่งโสร่ง มีอาวุธปืนเอ็ม 16 ครบมือ ได้เปิดฉากยิงใส่เจ้าหน้าที่ เกิดยิงปะทะกันก่อนที่กลุ่มชายฉกรรจ์จะวิ่งหนีเข้าป่า นอกจากนี้มีอีก 2 จุดที่มีการวางกำลังยิงใส่เจ้าหน้าที่สำหรับการตรวจค้นเป้าหมาย คุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 3 คน คือ นายนูรดี หะยีกาจิ นายเจ๊ะมะมิง เจ๊ะนิ นายรีฟันดี นุ้ยยะลา ทั้งหมดเป็นคนในพื้นที่หมู่ 4 บ้านกาโดะ ต.รือเสาะออก นำไปสอบสวนที่ค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี